ปลาหมึก กินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ
ปลาหมึก เป็นหนึ่งในอาหารทะเลยอดนิยมที่มีการนำมาประกอบอาหารหลายรูปแบบ
ไม่ว่าจะเป็นรับประทานสดในรูปแบบซาซิมิ นำมาย่าง ชุบแป้งทอด ไปจนถึงผสมกับเครื่องปรุงอื่นๆ เป็นเมนูต้ม ผัด แกง
อย่างไรก็ตาม หลายคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุมักหลีกเลี่ยงปลาหมึก โดยให้เหตุผลว่าต้องหลีกเลี่ยงอาหารคอเลสเตอรอลสูง ปลาหมึกมีคอเลสเตอรอลสูงจริงหรือไม่ ควรจำกัดการรับประทานอย่างไรจึงจะดี ปลาหมึกให้ประโยชน์อะไรต่อสุขภาพบ้างหรือไม่ HD มีคำตอบ
ทำความรู้จักปลาหมึก
ปลาหมึก แม้จะชื่อมีคำว่า “ปลา” แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นปลาแต่อย่างใด ความจริงแล้วปลาหมึกเป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวนิ่ม มีเลือดเป็นสีเขียวหรือฟ้า มีหนวดหรือเรียกอีกอย่างว่ารยางค์ ประมาณ 8-10 เส้นต่อตัว
ปลาหมึกว่ายน้ำได้อย่างว่องไว สามารถพรางตัวเปลี่ยนสีผิวให้เข้ากับพื้นผิวรอบๆ เพื่อจับเหยื่อ ที่ปากของมันมีปุ่มดูดใช้สำหรับยึดเกาะ และจับเหยื่อมาเป็นอาหาร
ปลาหมึกเคลื่อนไหวโดยพ่นน้ำออกจากปาก เพื่อให้แรงดันน้ำที่ออกมาเป็นตัวผลักดันให้ลำตัวพุ่งไปข้างหน้า
ปลาหมึกทั่วโลกมีหลายสายพันธุ์ หลายรูปร่าง หลายขนาด ในสำหรับประเทศไทย ประเภทของปลาหมึกที่มักเห็นได้ทั่วไปมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
- ปลาหมึกกล้วย (Squid)
เป็นปลาหมึกลักษณะลำตัวกลม ยาว มีครีบเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ด้านท้ายลำตัว หนวดอยู่ล้อมรอบปาก ประกอบไปด้วยหนวดสั้น 4 คู่ และหนวดยาวอีก 1 คู่ ที่หนวดจะมีปุ่มดูดสำหรับจับอาหาร 2 แถวหรืออาจมากกว่านั้น
ปลาหมึกกล้อยมักแอบซ่อนตัวอยู่ตามหน้าดิน หรือทรายใต้ทะเลในช่วงกลางวัน ออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยอยู่ในทุกระดับน้ำ
- ปลาหมึกสาย (Octopus)
เรียกได้อีกชื่อว่า ปลาหมึกยักษ์ มีลักษณะลำตัวรีกลมกว่าปลาหมึกพันธุ์อื่น ดูคล้ายถุงหรือลูกโป่งลอยน้ำ ไม่มีครีบ มีหนวดรอบปาก 4 คู่ แต่ไม่มีปุ่มดูด สามารถพบได้ตามหาดชายฝั่ง
- ปลาหมึกกระดอง (Cuttlefish)
เรียกได้อีกชื่อว่า ปลาหมึกหอม ลักษณะลำตัวแบนและกว้างกว่าหมึกสองประเภทด้านบน แต่ไม่ยาวเท่าหมึกกล้วย มีครีบขนาดใหญ่อยู่ด้านข้าง หนวดอยู่ล้อมรอบปาก โดยมีหนวดสั้น 4 คู่ หนวดยาว 1 คู่ ปลายหนวดมีปุ่มดูดสำหรับจับอาหาร
หมึกกระดองมักลอยอยู่กับที่ เคลื่อนไหวช้า แต่เมื่อไรที่มันเริ่มว่าย ก็จะเคลื่อนพุ่งตัวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วมาก
สารอาหารในปลาหมึก
ในปลาหมึก 85 กรัม ให้พลังงานประมาณ 139 แคลอรี และยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น โปรตีน 25.35 กรัม ไขมัน 1.8 กรัม ธาตุเหล็ก 8.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.6 มิลลิกรัม
ปลาหมึกให้คุณประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณมากมายหลายด้าน เช่น
- ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเส้นผม
ผู้ที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายหนักๆ เป็นประจำหรือต้องใช้พลังงานมากในระหว่างวัน ปลาหมึกถือเป็นอาหารตัวเลือกที่ไม่เลวในการสร้างพลังงานที่เพียงพอให้กับร่างกาย เนื่องจากปลาหมึกมีโปรตีนสูง นอกจากนี้ โปรตีนในปลาหมึกยังมีส่วนช่วยบำรุงความแข็งแรงของเส้นผมอีกด้วย
- ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
ปลาหมึกเป็นแหล่งรวมของกรดอะมิโน (Amino acids) ซึ่งในกรดชนิดนี้ประกอบไปด้วยสายสารฮิสทิดีน (Histidine) สารลิวซีน (Leucine) และสารไลซีน (Lysine) ซึ่งมีส่วนช่วยต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
นอกจากนี้ ปลาหมึกยังมีแร่ธาตุเซเลเนียม (Selenium) กับวิตามินอี ซึ่งเปรียบได้กับสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง
- บำรุงระบบหัวใจและหลอดเลือด
ในปลาหมึกมีวิตามินบี 12 ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงระบบการทำงานของหลอดเลือดให้มีประสิทธิภาพ และวิตามินบี 6 ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Strokes)
- ลดโอกาสเกิดโรคไมเกรน
เพราะในปลาหมึกอุดมไปด้วยวิตามินบี 2 ซึ่งขึ้นชื่อด้านการบำรุงซ่อมแซมระบบเนื้อเยื่อ เสริมสร้างเซลล์ในหลอดเลือด และลดอาการปวดหัวจากโรคไมเกรน
- บำรุงระบบการทำงานของสมอง
วิตามินบี 12 ในปลาหมึกมีส่วนช่วยให้การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยวันหนึ่งๆ คุณควรได้รับวิตามินชนิดนี้อย่างน้อย 1.2 ไมโครกรัมต่อวัน เพื่อสนับสนุนการทำงานของสมอง
- ป้องกันโรคโลหิตจาง
แร่ธาตุทองแดงในปลาหมึกช่วยป้องกันโอกาสการเกิดโรคโลหิตจางได้ ทั้งยังช่วยเสริมความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันและกระดูก ทำให้อาการอักเสบบริเวณข้อต่อหรือกระดูกของคุณหายได้ไวขึ้น
- ลดความเครียด
วิตามินบี 5 ในปลาหมึกเป็นอีกตัวช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวล ความเครียด และซึมเศร้าได้ ผ่านการเข้าไปปรับระดับสารฮอร์โมนเกี่ยวกับภาวะอารมณ์ให้สมดุลขึ้น
อีกทั้งวิตามินบี 6 ในปลาหมึกยังช่วยเปลี่ยนสารทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนอีกชนิดให้กลายเป็นสารไนอะซิน (Niacin) และสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทควบคุมการทำงานด้านจิตใจและภาวะอารมณ์ให้หลั่งมากพอ จนไม่ทำให้เกิดภ
- เสริมสร้างฮีโมโกลบิน
ปลาหมึกถือเป็นอีกแหล่งของแร่ธาตุเหล็ก แทงมวยพักยก ซึ่งมีคุณสมบัติเสริมสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดให้เพียงพอได้